แสดงทั้งหมด 3 ผลลัพท์

หลังคา/ผนัง Metalsheet Snap Lock 300

หลังคา/ผนัง Metalsheet Snap Lock 300

หลังคา/ผนัง Metalsheet Snap Lock 300 คือ การใช้เมทัลชีทแผ่นเรียบมารีดลอน Spandrel มีสันลอนที่สูงถึง 33 มม. ความกว้างรวมประกบแล้ว 300  มม. ช่วยเพิ่มปริมาณการรับน้ำฝน และมีตะเข็บบนท้องลอนเพื่อเพิ่มความแข็งแรง แต่ละแผ่นมี 2 สันลอน

 

จุดเด่นของลอน Snap Lock 300

1. โดดเด่นด้วยการออกแบบการติดตั้งเป็นระบบ Snap Lock มีสันลอนที่สูงถึง 33 มม. ความกว้างรวมประกบแล้ว 300  มม. ช่วยเพิ่มปริมาณการรับน้ำฝน และมีตะเข็บบนท้องลอนเพื่อเพิ่มความแข็งแรง แต่ละแผ่นมี 2 สันลอน

2. เป็นเทคโนโลยีใหม่ด้วยวิธีการติดตั้งใช้สกรูยึดด้านล่างของแผ่นจากด้านขวาสุด แล้วนำแผ่นใหม่ประกบซ้อนทับด้วยระบบล็อคกับตัวแผ่นล่าง จึงทำให้ไม่เห็นรอยสกรูที่ยึดกับแผ่น ช่วยป้องกันน้ำรั่วซึมได้เป็นอย่างดี

3. เหมาะสำหรับหลังคาที่มีมุมลาดเอียงตั้งแต่ 2 องศาขึ้นไป หรือ 1 ต่อ 30 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาวของแผ่น และปริมาณการรับน้ำฝน

4. การติดตั้งต้องตรวจเช็คให้แนวแปให้ได้ระดับอยู่ในระนาบสามารถระบายน้ำฝนได้โดยไม่ติดขัด ระยะห่างแปที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 1.30 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่นเมทัลชีท

5. เหมาะกับงานที่เน้นความสูงของสันลอน ตั้งแต่อาคารขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ได้

6. ใช้สกรูเวเฟอร์ ขนาด 16 มม. สำหรับการติดตั้ง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความนิยมในการเลือกใช้วัสดุเมทัลชีทมาทำหลังคาบ้านได้รับความนิยมสูงมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะบ้านสไตล์ Modern ที่ต้องการความเรียบแบน มีความชันของหลังคาต่ำ ซึ่งเมทัลชีทสามารถออกแบบหลังคาได้ต่ำสุดถึง 5 องศา (ขึ้นอยู่กับชนิดของรูปลอนและความยาวของระยะแปของหลังคา) แต่หากใช้วัสดุกระเบื้องหลังคาซีแพ็คทั่วไปจะไม่สามารถทำได้ ครั้นจะใช้หลังคา Slab คอนกรีตก็มีต้นทุนที่สูงกว่ากันมาก ทางเลือกในการนำเมทัลชีทมาใช้ทำหลังคาจึงได้คะแนนทั้งด้านดีไซน์ การติดตั้งที่รวดเร็ว และราคาก่อสร้าง

แต่ปัญหาหลัก ๆ ของการใช้เมทัลชีท คือ ความร้อน และมีเสียงดังรบกวนเมื่อฝนตก เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” จึงขอพาไปทำความรู้จักกับเมทัลชีทให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านที่กำลังสร้างบ้านและกำลังตัดสินใจเลือกเมทัลชีท ได้รู้จุดเด่น จุดด้อยของเมทัลชีท และเลือกสเปคเมทัลชีทได้เหมาะสมกับการใช้งานครับ

เมทัลชีท คืออะไร?

เมทัลชีท (Metal Sheet) คือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่าง อลูมิเนียม และสังกะสี  เหมาะสำหรับทั้งงานภายในและภายนอก งานผนัง งานรั้วและงานหลังคา คุณสมบัติเด่นชัดของเมทัลชีทคือสามารถสั่งผลิตตามขนาดความยาวของหลังคาได้ จึงทำให้เกิดรอยต่อของแผ่นหลังคาน้อย ปัญหารั่วซึมจึงน้อยกว่าหลังคากระเบื้องทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้การติดตั้งหลังคาสามารถดำเนินการได้ไว น้ำหนักเบา จึงช่วยลดต้นทุนค่าแรงก่อสร้างและค่าโครงสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันแผ่นเมทัลชีทมีให้เลือกหลายรุ่น หลายเกรด การนำมาใช้ร่วมกับบ้านจึงจำเป็นต้องกำหนดสเปคให้เหมาะสมแต่ละส่วนของบ้าน เพื่อให้เกิดการใช้งานที่สอดคล้องกับการอยู่อาศัย

1. ความหนาของเมทัลชีท มีผลกับคุณภาพ

แผ่นเหล็กเมทัลชีทที่มีขายในประเทศไทย จะมีความหนาประมาณ 0.28 – 0.5 mm โดยประมาณ ซึ่งความหนาจะมีผลกับความแข็งแรง ยิ่งหนา ยิ่งดี แต่ไม่ควรใช้หนาเกินความจำเป็น เพราะช่างและผู้รับเหมาจะไม่สามารถหาสินค้าได้และทำงานลำบาก เพราะแผ่นเมทัลชีทที่มีความหนาจะป้องกันการบุบยุบตัวได้มากกว่าแผ่นบาง และป้องกันเสียงจากฝนตกจะเสียงทุ้มกว่าแผ่นบางครับ โดยความหนาที่แนะนำสำหรับหลังคาหลักของบ้าน ควรหนาประมาณ 0.35 mm ขึ้นไป แต่หากเป็นสเปคที่สถาปนิกนิยมเลือกใช้ร่วมกับบ้านที่เน้นการออกแบบเป็นพิเศษ จะเลือกความหนาที่ 0.47 mm ขึ้นไปครับ
ส่วนจุดอื่น ๆ เช่น หลังคาซักล้าง หลังคาครัวไทย หลังคาโรงจอดรถ เป็นส่วนที่ไม่มีผลกระทบกับการอยู่อาศัยภายในบ้านมากนัก อาจเลือกรุ่นที่มีความหนา 0.3 mm ขึ้นไปเพื่อการลดต้นทุนได้ครับ ทั้งนี้ ความหนาของเมทัลชีทจะมีผลกับระยะแปหลังคา ยิ่งหนามากจะสามารถจัดวางแปในระยะห่างที่มากขึ้นได้ ช่างจึงควรตรวจเช็คความหนาของแผ่นเมทัลชีทให้มีความสัมพันธ์กับระยะแปหลังคา

2. เมทัลชีทเคลือบสี ช่วยให้บ้านเย็น ลดเสียงรบกวน

แผ่นเมทัลชีทที่ยังไม่ผ่านการเคลือบสีจะมีราคาถูกกว่า เหมาะกับการใช้งานอเนกประสงค์ อาทิ รั้วกั้นพื้นที่, หลังคาส่วนต่อเติม แต่หากนำมาใช้ร่วมกับหลังคาหลักของบ้าน แนะนำให้ควรเลือกชนิดที่ผ่านการเคลือบสีแล้ว เพราะสีที่เคลือบไม่ได้ช่วยแค่เรื่องความสวยงามแต่ยังเป็นแผ่นกันความร้อนหลังคาได้ดี โดยนวัตกรรมสียุคปัจจุบันมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน ส่งผลให้ปริมาณความร้อนที่ทะลุผ่านหลังคาเมทัลชีทลดลงอย่างเห็นได้ชัดทำให้อุณหภูมิของบ้านเย็นกว่า สามารถประหยัดไฟจากเครื่องปรับอากาศได้

3. ฉนวนกันความร้อน เพื่อนแท้ของเมทัลชีท

ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการใช้เมทัลชีท คือ การติดตั้งเมทัลชีทโดยมีฉนวนกันความร้อน เพราะจะช่วยลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านได้ดีขึ้น ปัจจุบันฉนวนกันความร้อนมีให้เลือกทั้งแบบสำเร็จรูปติดตั้งมาให้พร้อมกับแผ่นเมทัลชีท, แบบพ่นโฟม PU, แบบแผ่นวางใต้ฝ้าเพดาน หรือจะเลือกทำหลายอย่างพร้อมกันก็สามารถทำได้ครับ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนไม่เพียงแค่ช่วยให้การอยู่อาศัยเย็นสบายขึ้น แต่ตัวฉนวนยังทำหน้าที่ป้องกันเสียงรบกวนได้ดีอีกด้วย ลดทั้งความร้อน ลดทั้งเสียงรบกวน คุ้มยิ่งกว่าคุ้มครับ

ผู้เขียนไม่ขอฟันธงว่า ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนในรูปแบบไหนดีกว่ากัน เพราะแต่ละแบบอาจขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งเกรดวัสดุ คุณภาพ ราคา แต่ขอแนะนำวิธีการเลือกซื้อตามค่าคุณสมบัติต่าง ๆ 2 ตัวหลัก ที่จะมีระบุไว้ชัดเจน โดยให้จำไว้ง่าย ๆ ว่า ค่า R ยิ่งมากยิ่งดี ค่า K ยิ่งน้อยยิ่งดี

วิธีการเลือกซื้อฉนวนกันความร้อนกับเมทัลชีทตามค่าคุณสมบัติ

  1. ค่า R (Resistivity): ค่าความต้านทานความร้อนของฉนวน ยิ่งต้านทานได้มากจะยิ่งดี นั่นหมายถึง ยิ่งตัวเลขมาก ยิ่งดีครับ
  2. ค่า K (K-value): ค่านำความร้อน ยิ่งนำความร้อนไดี ยิ่งส่งผลให้บ้านร้อนมาก เพราะฉะนั้นค่า K ควรมีน้อย ๆ ยิ่งตัวเลขน้อย ยิ่งดี

แผ่นฉนวนที่ติดมากับเมทัลชีทเดิมหลุด ทำอย่างไร

ปัญหาแผ่นฉนวนโฟม PU ที่ติดมาพร้อมกับเมทัลชีทหลุดมักเกิดขึ้นกับแผ่นเมทัลชีทด้อยคุณภาพ แต่หากเป็นแผ่น metal sheet คุณภาพสูงจะไม่ค่อยพบเจอปัญหานี้ โดยสาเหตุหลัก ๆ เกิดขึ้นจากกาวที่ติดฉนวนเสื่อมการใช้งาน หากเริ่มหลุดล่อนไม่มากนัก สามารถซื้อกาวที่ใช้สำหรับติดฉนวน PU มาซ่อมแซมได้ครับ หลังจากซ่อมแซมแล้วอาจติดตั้งแผ่นฝ้าไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้หลุดมากกว่าเดิม
แต่หากการหลุดล่อนเกิดขึ้นมาก จนยากที่จะใช้ของเดิมได้ ให้ทำการกำจัดฉนวนเดิมออกให้หมด และใช้ฉนวนกันร้อนแบบฉีดพ่นแทน การฉีดพ่นจะยึดติดได้ดีกว่าแบบติดกาวมากครับ

4. หลังคาสูงโปร่ง มีฝ้าเพดาน

ตามหลักการถ่ายเทความร้อน มวลความร้อนจะลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงเสมอ หลักการนี้สถาปนิกนำมาใช้ร่วมกับการออกแบบบ้านครับ หากบ้านของเรามีพื้นที่โถงหลังคามากก็จะช่วยกันความร้อนได้มาก โดยออกแบบให้ภายในบ้านมีฝ้าเพดาน เพื่อให้ใต้หลังคามีพื้นที่ระบายอากาศ ฝ้าหลังคาจะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันร้อนและกันเสียงได้อีกชั้น หากให้ดียิ่งขึ้นควรมีช่องระบายอากาศเพื่อส่งความร้อนที่สะสมบนฝ้าถ่ายเทออกนอกบ้าน ป้องกันการนำความร้อนเข้าสู่ภายในบ้านครับ
การนำเมทัลชีทมาใช้งานร่วมกับบ้าน ส่วนใหญ่จะคุ้นตากันในลักษณะหลังคาแบน หลังคาเพิงหมาแหงน แต่ในความเป็นจริงแล้วเมทัลชีทสามารถใช้งานร่วมกับรูปทรงหลังคาได้ทุกประเภท ทั้งจั่ว ปั้นหยา หลังคาโค้ง และอื่น ๆ ตามจินตนาการของผู้ออกแบบ ยิ่งออกแบบให้มีหลังคาสูงโปร่ง จะช่วยให้การระบายอากาศทำได้ดียิ่งขึ้น

5. เลือกเมทัลชีทแบรนด์ที่สถาปนิก วิศวกรแนะนำ

ปัจจุบันเมทัลชีทมีให้เลือกมากมาย หลายแหล่งผลิต หลายเกรดวัสดุ แต่ละรุ่นมีกระบวนการผลิต มีการเคลือบสีที่แตกต่างกัน สำหรับแบรนด์อันดับ 1 ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มสถาปนิกและวิศวกร คือ บลูสโคป แบรนด์ระดับโลกจากประเทศออสเตรเลีย ได้ก่อตั้งในประเทศไทยมากว่า 30 ปีแล้วครับ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นรายแรก ๆ ที่ได้นำวัสดุเมทัลชีทเข้ามาให้คนไทยได้ใช้งาน โดยรุ่นที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ คือ บลูสโคป แซคส์ (BlueScope Zacs) ที่ถือเป็นเมทัลชีทที่มีคุณภาพดี มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน ด้วย Cool coating Technology ที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่า ทำให้อุณหภูมิของบ้านเย็นกว่า และประหยัดไฟได้มากกว่าเมทัลชีททั่วไป  พร้อมทั้งการรับประกันไม่ผุกร่อน 12 ปี และสีไม่ซีดจาง 5 ปี โดยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการผลิตโดยบลูสโคปนั้น จะมีการปั๊มตราใต้แผ่นเมทัลชีททั้งด้านบนแผ่นและด้านใต้แผ่นเสมอ ผู้ซื้อสามารถดูเพื่อตรวจเช็ค ตราสินค้าหลังแผ่นเมทัลชีทได้ ซึ่งจะตีพิมพ์อยู่ห่างจากขอบแผ่นประมาณ 15 เซนติเมตร ทุก ๆ ความยาว 5 เมตร และควรถามหาใบรับประกันทุกครั้งเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์บลูสโคป ไม่ว่าจากศูนย์เมทัลชีท บลูสโคป (BlueScope Authorized Dealer) หรือร้านค้าทั่วไปครับ

วัสดุก่อสร้างแต่ละประเภท ล้วนมีข้อดี ข้อด้อย ที่แตกต่างกันไป การพิจารณาถึงข้อดีของวัสดุดังกล่าวพร้อมกับหาแนวทางแก้ไขข้อด้อย จะช่วยให้เกิดการใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับวัสดุเมทัลชีท แม้จะมีข้อเสียเรื่องความร้อนแต่ในขณะเดียวกัน เมทัลชีทเป็นวัสดุที่ไม่อมความร้อน หลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว บ้านที่ใช้หลังคาเมทัลชีทจะเย็นไวกว่าบ้านหลังคากระเบื้องคอนกรีตซึ่งมีคุณสมบัติอมความร้อน หากบ้านของเรามีการป้องกันความร้อนด้วยกระบวนการต่าง ๆ ตามที่ได้แนะนำไปในเนื้อหานี้แล้ว มั่นใจได้ว่า การอยู่อาศัยจะสุขสบายยิ่งกว่าเดิมมากครับ ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.banidea.com/matal-sheet-for-cool-house/

หลังคา เมทัลชีท Snap Lock 300

ผนัง เมทัลชีท สแนปล็อก 300

฿0.00

หลังคา Sandwich Snap Lock 300+EPS 2 นิ้ว

แซนวิช สแนปล็อก+EPS หนา 2″

฿0.00
Call Now Button